วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจของประเทศเมียนมาร์



เมาะละแหม่ง 
เป็นเมืองเอกของรัฐมอญ มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน ประกอบด้วยพลเมืองเชื้อชาติมอญส่วนใหญ่ สภาพทั่วไปของเมืองเป็นเมืองเกษตรกรรมใกล้ชายทะเลริมอ่าวเมาะตะมะความโดดเด่นของเมืองแห่งนี้คือ เป็นเมืองตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ

เมียวดี
เป็นเมืองชายแดนด้านตะวันออกของเมียนมาร์ ติดกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเขตกั้นและเชื่อมด้วยสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ เป็นตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญแห่งหนึ่งซึ่งรัฐบาลเมียนมาร์จัดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน นอกจากนี้ยังถือว่าเมียวดีเป็นเมืองสำคัญในการกระจายสินค้าจากประเทศไทยไปยังเมืองต่างๆ ของเมียนมาร์ ตั้งอยู่ในรัฐกระเหรี่ยง มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า ถือได้ว่าเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า นำเข้าและส่งออก โดยทางรถยนต์ทางหลักจากประเทศไทยและภูมิภาคอีนโดจีน

ที่มา: http://61.47.41.107/w/content/

ทรัพยากรณ์ธรรมชาติของประเทศเมียนมาร์


          เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า เป็นประเทศกำลังพัฒนาขั้นต่ำ



ที่มา: https://samita2039.wordpress.com

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของพม่า


1


เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของ ตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น

     ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และ ชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว

     งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษาถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนาน และได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย

2

ที่มา: http://www.ceted.org/
 

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบเศรษฐกิจของเมียนมาร์


     เมียนมาร์เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนค่อนข้างต่ำ กิจกรรมทางเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ แบ่งเป็น

     ด้านเกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพหลักของชาวเมียนมาร์ เขตเกษตรกรรม คือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเอยาวดี และแม่น้ำสะโตง โดยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ

     ด้านการทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมือง ดีบุก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตาม แม่น้ำเอยาวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง

     ด้านอุตสาหกรรม กำลังมีการพัฒนาอยู่บริเวณตอนล่างของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมโดยทั่วไปนั้นยังอยู่ในขั้นพัฒนา เช่นอุตสาหกรรมต่อเรืออยู่บริเวณเมืองย่างกุ้ง มะริด และทวาย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ อัญมณี ป่าไม้ แร่ธาตุ (ดีบุก) และน้ำมัน

     จากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยทหาร รัฐบาลทหารได้นำเมียนมาร์ไปสู่ระบบเศรษฐกิจเสรี และแม้ต่อมาจะได้จัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ก็ยังคงยึดนโยบายเช่นเดิม คือ อนุญาตให้ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิต และการจัดการ รวมทั้งได้เปิดประเทศ ให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น แต่มีอัตราการขยายตัวไม่แน่นอน เพราะเศรษฐกิจของพม่า ต้องพึ่งพาสินค้าเกษตรเพียงไม่กี่ชนิด หากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ หรือสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน ก็จะส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำ นอกจากนั้น อุปสรรคที่ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่แน่นอน ยังเกิดจากการขาดแคลนไฟฟ้าและสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐาน ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ในระบบและนอกระบบ เป็นต้น

สินค้านำเข้าที่สำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม
สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน สิงคโปร์ ไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ไทย อินเดีย จีน


ที่มา: http://www.asean-info.com/


วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศเมียนมาร์


ประเทศพม่า เมืองหลวงคือ กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw)


กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า

กรุงเนปิดอว์ถูกสถานปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศพม่าหรือเมียนม่าร์แทนกรุงย่างกุ้งที่เป็นเมืองหลวงเก่ามาอย่างยาวนาน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดในขณะนั้น ด้วยเหตุผลหลักในด้านการบริหารประเทศได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกรุงเนปิดอว์ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศพอดี ปัจจุบันกรุงเนปิดอว์ยังอยู่ในช่วงของการสร้างเมือง ถนนหนทาง แหล่งธุรกิจ โรงแรม ไม่ยังเสร็จสมบูรณ์นัก แต่ด้วยเหตุที่พม่าเพิ่งเปิดประเทศ (หลังจากปิดประเทศมาตั้งแต่สมัยทหารเข้ายึดอำนาจการปกครอง) จึงสามารถกล่าวได้ว่าในประเทศพม่านั้น ถนนทุกสาย นักลงทุนจากทั่วโลก กำลังมุ่งไปสู่กรุงเนปิดอว์ทั้งสิ้น


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติเมียนมาร์






สัตว์ประจำชาติพม่า (เมียนมาร์)
เสือโคร่งพันธุ์อินโดจีน (IndoChinese Tiger) สัตว์ประจำชาติพม่า (เมียนม่าร์)
ในประเทศอาเซียนบางประเทศก็มีเสือเป็นสัตว์ประจำชาติ เช่นเดียวกันกับเสือโคร่งอินโดจีนซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติพม่าอีกชนิดหนึ่ง ทั้งยังเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) มีลักษณะรูปร่างซึ่งเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่ลายเส้นจะเล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอลอีกทั้งลำตัวของมันยังเล็กกว่าด้วย เสือโคร่งอินโดจีนจะแพร่สายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย ลาว เวียดนาม พม่า มาเลเซียและกัมพูชาเท่านั้น สำหรับเรื่องอาหารการกินรวมถึงถิ่นที่อยู่อาศัย เสือโคร่งอินโดจีนจะอาศัยและมีพื้นที่หากินในป่าซึ่งเป็นที่ราบต่ำ อยู่ใกล้กับแม่น้ำอีกทั้งผืนป่าเหล่านั้นจะต้องแวดล้อมไปด้วยอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้ มันยังสามารถอาศัยได้หลากหลายสภาพป่าอีกด้วย เช่น ป่าดิบชิ้นและป่าผลัดใบ โดยจะออกล่าสัตว์ที่มีขนาดลำตัวใหญ่หรือมีลำตัวขนาดกลาง เช่น กวาง กระทิง วัวและควายป่า

















ที่มา : https://sites.google.com

ตราแผ่นดินประเทศเมียนมาร์


              ใช้ในเอกสารของทางราชการรวมทั้งการตีพิมพ์เผยแพร่ด้วย ตราแผ่นดินประกอบไปด้วยสิงโตสองตัวหันหน้าเข้าหากัน และตรงกลางเป็นแผนที่ของพม่าวางอยู่บนล้อเฟือง ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้พื้นเมืองของพม่า และมีดวงดาวอยู่ด้านบน

ตราแผ่นดินดั้งเดิมในส่วนของผ้าแถบมีคำว่าสหภาพเมียนมาร์ และมีสิงโตสามตัวโดยตัวที่สามอยู่ตรงตำแหน่งของดาว ล้อเฟืองเป็นรูปกลมล้อมรอบด้วยคำภาษาพม่า (ta.pau; tha-baw) ในช่วงที่นายพลเนวินมีอำนาจ ได้มีการปรับปรุงโดยเพิ่มล้อเฟือง และเปลี่ยนคำในตราไป ตราแผ่นดินของพม่ามีอิทธิพลของสังคมนิยม เพราะมีรูปล้อเฟืองและดาว ถ้อยคำในตราที่เป็นภาษาพม่าคือ Pyidaungsu Socialist Thamada Myanmar-naing-gan-daw หมายถึงสหภาพสังคมนิยมเมียนมาร์


ที่มา: http://region6.prd.go.th/