วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจของประเทศเมียนมาร์



เมาะละแหม่ง 
เป็นเมืองเอกของรัฐมอญ มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน ประกอบด้วยพลเมืองเชื้อชาติมอญส่วนใหญ่ สภาพทั่วไปของเมืองเป็นเมืองเกษตรกรรมใกล้ชายทะเลริมอ่าวเมาะตะมะความโดดเด่นของเมืองแห่งนี้คือ เป็นเมืองตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ

เมียวดี
เป็นเมืองชายแดนด้านตะวันออกของเมียนมาร์ ติดกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเขตกั้นและเชื่อมด้วยสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ เป็นตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญแห่งหนึ่งซึ่งรัฐบาลเมียนมาร์จัดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน นอกจากนี้ยังถือว่าเมียวดีเป็นเมืองสำคัญในการกระจายสินค้าจากประเทศไทยไปยังเมืองต่างๆ ของเมียนมาร์ ตั้งอยู่ในรัฐกระเหรี่ยง มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า ถือได้ว่าเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า นำเข้าและส่งออก โดยทางรถยนต์ทางหลักจากประเทศไทยและภูมิภาคอีนโดจีน

ที่มา: http://61.47.41.107/w/content/

ทรัพยากรณ์ธรรมชาติของประเทศเมียนมาร์


          เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า เป็นประเทศกำลังพัฒนาขั้นต่ำ



ที่มา: https://samita2039.wordpress.com

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของพม่า


1


เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของ ตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น

     ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และ ชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว

     งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษาถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนาน และได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย

2

ที่มา: http://www.ceted.org/
 

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบเศรษฐกิจของเมียนมาร์


     เมียนมาร์เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนค่อนข้างต่ำ กิจกรรมทางเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ แบ่งเป็น

     ด้านเกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพหลักของชาวเมียนมาร์ เขตเกษตรกรรม คือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเอยาวดี และแม่น้ำสะโตง โดยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ

     ด้านการทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมือง ดีบุก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตาม แม่น้ำเอยาวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง

     ด้านอุตสาหกรรม กำลังมีการพัฒนาอยู่บริเวณตอนล่างของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมโดยทั่วไปนั้นยังอยู่ในขั้นพัฒนา เช่นอุตสาหกรรมต่อเรืออยู่บริเวณเมืองย่างกุ้ง มะริด และทวาย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ อัญมณี ป่าไม้ แร่ธาตุ (ดีบุก) และน้ำมัน

     จากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยทหาร รัฐบาลทหารได้นำเมียนมาร์ไปสู่ระบบเศรษฐกิจเสรี และแม้ต่อมาจะได้จัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ก็ยังคงยึดนโยบายเช่นเดิม คือ อนุญาตให้ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิต และการจัดการ รวมทั้งได้เปิดประเทศ ให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น แต่มีอัตราการขยายตัวไม่แน่นอน เพราะเศรษฐกิจของพม่า ต้องพึ่งพาสินค้าเกษตรเพียงไม่กี่ชนิด หากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ หรือสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน ก็จะส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำ นอกจากนั้น อุปสรรคที่ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่แน่นอน ยังเกิดจากการขาดแคลนไฟฟ้าและสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐาน ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ในระบบและนอกระบบ เป็นต้น

สินค้านำเข้าที่สำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม
สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน สิงคโปร์ ไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ไทย อินเดีย จีน


ที่มา: http://www.asean-info.com/


วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศเมียนมาร์


ประเทศพม่า เมืองหลวงคือ กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw)


กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า

กรุงเนปิดอว์ถูกสถานปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศพม่าหรือเมียนม่าร์แทนกรุงย่างกุ้งที่เป็นเมืองหลวงเก่ามาอย่างยาวนาน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดในขณะนั้น ด้วยเหตุผลหลักในด้านการบริหารประเทศได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกรุงเนปิดอว์ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศพอดี ปัจจุบันกรุงเนปิดอว์ยังอยู่ในช่วงของการสร้างเมือง ถนนหนทาง แหล่งธุรกิจ โรงแรม ไม่ยังเสร็จสมบูรณ์นัก แต่ด้วยเหตุที่พม่าเพิ่งเปิดประเทศ (หลังจากปิดประเทศมาตั้งแต่สมัยทหารเข้ายึดอำนาจการปกครอง) จึงสามารถกล่าวได้ว่าในประเทศพม่านั้น ถนนทุกสาย นักลงทุนจากทั่วโลก กำลังมุ่งไปสู่กรุงเนปิดอว์ทั้งสิ้น


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติเมียนมาร์






สัตว์ประจำชาติพม่า (เมียนมาร์)
เสือโคร่งพันธุ์อินโดจีน (IndoChinese Tiger) สัตว์ประจำชาติพม่า (เมียนม่าร์)
ในประเทศอาเซียนบางประเทศก็มีเสือเป็นสัตว์ประจำชาติ เช่นเดียวกันกับเสือโคร่งอินโดจีนซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติพม่าอีกชนิดหนึ่ง ทั้งยังเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) มีลักษณะรูปร่างซึ่งเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่ลายเส้นจะเล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอลอีกทั้งลำตัวของมันยังเล็กกว่าด้วย เสือโคร่งอินโดจีนจะแพร่สายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย ลาว เวียดนาม พม่า มาเลเซียและกัมพูชาเท่านั้น สำหรับเรื่องอาหารการกินรวมถึงถิ่นที่อยู่อาศัย เสือโคร่งอินโดจีนจะอาศัยและมีพื้นที่หากินในป่าซึ่งเป็นที่ราบต่ำ อยู่ใกล้กับแม่น้ำอีกทั้งผืนป่าเหล่านั้นจะต้องแวดล้อมไปด้วยอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้ มันยังสามารถอาศัยได้หลากหลายสภาพป่าอีกด้วย เช่น ป่าดิบชิ้นและป่าผลัดใบ โดยจะออกล่าสัตว์ที่มีขนาดลำตัวใหญ่หรือมีลำตัวขนาดกลาง เช่น กวาง กระทิง วัวและควายป่า

















ที่มา : https://sites.google.com

ตราแผ่นดินประเทศเมียนมาร์


              ใช้ในเอกสารของทางราชการรวมทั้งการตีพิมพ์เผยแพร่ด้วย ตราแผ่นดินประกอบไปด้วยสิงโตสองตัวหันหน้าเข้าหากัน และตรงกลางเป็นแผนที่ของพม่าวางอยู่บนล้อเฟือง ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้พื้นเมืองของพม่า และมีดวงดาวอยู่ด้านบน

ตราแผ่นดินดั้งเดิมในส่วนของผ้าแถบมีคำว่าสหภาพเมียนมาร์ และมีสิงโตสามตัวโดยตัวที่สามอยู่ตรงตำแหน่งของดาว ล้อเฟืองเป็นรูปกลมล้อมรอบด้วยคำภาษาพม่า (ta.pau; tha-baw) ในช่วงที่นายพลเนวินมีอำนาจ ได้มีการปรับปรุงโดยเพิ่มล้อเฟือง และเปลี่ยนคำในตราไป ตราแผ่นดินของพม่ามีอิทธิพลของสังคมนิยม เพราะมีรูปล้อเฟืองและดาว ถ้อยคำในตราที่เป็นภาษาพม่าคือ Pyidaungsu Socialist Thamada Myanmar-naing-gan-daw หมายถึงสหภาพสังคมนิยมเมียนมาร์


ที่มา: http://region6.prd.go.th/

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ระบอบการปกครองของประเทศเมียยมาร์

     พม่ามีประวัติศาสตร์ทางการเมืองโดดเด่นจนนานาประเทศจับตามองลักษณะการปกครองแบ่งได้เป็น  3  สมัย  คือ     สมัยราชวงศ์  สมัยอาณานิคม  และสมัยเอกราช


     สมัยราชวงศ์  เป็นช่วงเวลาที่ดินแดนพม่ายังแบ่งการปกครองเป็นอาณาจักรแต่ละอาณาจักรปกครองด้วยระบอบกษัตริย์  มี  3  ราชวงศ์  ราชวงศ์พุกาม  ราชวงศ์ตองอู  และราชวงศ์คองบอง
     สมัยอาณานิคม  ชาติอังกฤษเริ่มล่าอาณานิคมเพื่อครอบครองดินแดนและขยายอำนาจ  พม่าสู้รบกับอังกฤษหลายครั้ง  จากที่แค่สูญเสียดินแดนบางส่วน  สุดท้ายตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ  (พ.ศ. 2429 – 2491)  การปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จึงยุติลงนับแต่นั้น
     สมัยเอกราช  พม่าได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยมีนายพลอองซานเป็นผู้นำต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ  ทว่าจากนั้นบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย  เนื่องจากรัฐบาลไม่ทำตามข้อตกลงว่าจะให้ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ  แยกตัวเป็นอิสระได้หลังรวมกับพม่าครบ  10  ปี  ชนกลุ่มน้อยเหล่านั้นจึงก่อกบฏ  ทำให้ทหารปฏิวัติ  ปกครองประเทศและยึดอำนาจปกครองยาวนาน  โดยมีประชาชนออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นระยะ
ที่มา:http://www.dmc.tv/pages/

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สภาพอากาศของประเทศเมียนมาร์

    ภูมิอากาศ


   
สหภาพพม่าตั้งอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน (tropical monsoon) จำแนกฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูร้อนอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งอาจอุณหภูมิสูงถึง 43 องศาเซลเซียส
ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดเข้าสู่ประเทศทำให้ฝนตกเกือบทุกวัน พื้นที่ฝนชุกที่สุดจะได้แก่พื้นที่ชายฝั่งทะเล อันได้แก่ รัฐยะไข่ มณฑลเอยาวดี มณฑลพะโค และมณฑลตะนาวศรี ได้รับปริมาณน้ำฝนถึง 120–200 นิ้วต่อปี ในเขตพื้นที่ราบอื่นๆจะมีฝนตกเฉลี่ย 100 นิ้วต่อปี ทางตอนกลางของประเทศซึ่งถูกกำบังด้วยแนวเขายะไข่ด้านตะวันตกจะมีฝนตกน้อยเพียง 20–40 นิ้วต่อปีเท่านั้น หรือเฉลี่ยราว 29 นิ้วต่อปี
ฤดูหนาวนั้นอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 21–29 องศาเซลเซียส สภาพอากาศของประเทศพม่ายังแตกต่างตามความสูงต่ำของพื้นที่อีกด้วย

ในพื้นที่สูงจะหนาวเย็นยิ่งขึ้น และยอดเขาทางตอนบนสุดของประเทศอาจมีหิมะตกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำสุดราวศูนย์องศาเซลเซียสทางตอนบน และสูงสุด 45 องศาเซลเซียสทางตอนกลางของประเทศ


ที่มา:http://www.thaitickettravel.com/

ประชากรประเทศเมียนมาร์


ประชากร เชื้อชาติและศาสนา



   
       ประเทศเมียนมาร์ มีประชากรประมาณ 46 ล้านคน อยู่รวมกันทั้งสิ้น 135 ชาติพันธุ์ในจำนวนนี้ มีชนเผ่าพม่ามากที่สุด คือประมาณ 1 ใน 4 ส่วน รองลงมาก็คือ ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ และกะฉิ่น ตามลำดับ

สำหรับรัฐที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุด ก็คือรัฐฉาน เนื่องจากมีชนเผ่าอยู่รวมกันถึงประมาณ 80 ชาติพันธุ์ อาทิ ไทยใหญ่ ไทยน้อย ไทยทนุ อินตา ลีซอ อาข่า ม้ง จีนฮ่อ ฯลฯ

เชื้อชาติของชนเผ่าพม่าเป็นเชื้อชาติผสมพยู มองโกล และอินเดีย ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามาในเมียนมาร์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติสัดส่วนของการนับถือศาสนามีดังนี้ ศาสนาพุทธ 89 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ทุกนิกายรวมกัน 5.6 เปอร์เซ็นต์ อิสลาม 3.8เปอร์เซ็นต์ ฮินดู 0.5 เปอร์เซ็นต์


ที่มา: http://www.2by4travel.com/

การเกษตรกรรมประเทศเมียนมาร์

การเกษตรกรรม


รัฐบาลทหารพม่าพยายามส่งเสริมการเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรให้ได้มากที่สุด ด้วยการสนับสนุนการบุกเบิกและฟื้นฟูที่ดินเพื่อการผลิต ส่งเสริมนักลงทุนเอกชนปลูกยางพารา ส่งเสริมส่งออกข้าว ส่งออกไม้สัก เป็นต้น จากรายงาน EIU(1) ได้วิเคราะห์ผลผลิตเกษตรกรรมส่งออก 4 ลำดับสำคัญของพม่า ได้แก่ ข้าว เมล็ดพืช ไม้เนื้อแข็งและไม้สัก และสินค้าประมง

(1) The Economist Intelligence Unit (EIU), Country Profile 2008.

ข้าว ยังคงเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งพม่าเคยส่งออกข้าวมากที่สุดถึง 1 ล้านตันต่อปีในช่วงปี 2493-2503 และ 939,200 ตันในช่วงปี 2544-2545 แต่ยอดส่งออกข้าวลดลงเรื่อยมาจนถึง 553,000 ตันต่อปีในช่วงปี 2550-2551 ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้สินค้าเกษตรทั้งข้าว และเมล็ดพืชอื่น ๆ มียอดส่งออกลดลงนั้น นอกจากผลพวงของพายุนาร์กีซแล้ว ยังเป็นผล มาจากเกษตรกรไม่ได้รับการส่งเสริมการเพาะปลูก เช่น ขาดแคลนปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์เพาะปลูกที่ดี รวมทั้งข้อจำกัดการใช้น้ำชลประทานก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน และเพื่อแก้ไขสถานการณ์การส่งออกข้าว รัฐบาลพม่าได้ออกระเบียบเข้มงวดการส่งออกโดยเฉพาะในช่วงราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้น

เมล็ดพืช เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะในปี 2551 มีมูลค่ารวมมากเป็นอันดับสองของสินค้าส่งออกทุกชนิด โดยส่งไปยังประเทศอินเดียมากที่สุด

ยางพารา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมารัฐบาลทหารพม่าได้ส่งเสริมให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนมากขึ้น และพบว่าในช่วงเวลา 6 ปีนับจากปี 2543 เป็นต้นมา เนื้อที่การเพาะปลูกยางพาราขยายเพิ่มขึ้นเป็น 225,800 เฮกตาร์ และมีผลผลิตถึง 64,200 ตัน ในปี 2548/49

ไม้สักและไม้เนื้อแข็ง เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับสาม และมีปริมาณบริษัทสัมปทานตัดไม้เพิ่มขึ้น

สินค้าประมง โดยเฉพาะปลาและกุ้งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับสี่ เป็นที่ต้องการของประเทศจีนและไทยอย่างมาก อย่างไรก็ตามสินค้าประมงยังไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่ เป็นเพียงธุรกิจรายย่อยเท่านั้น นอกจากนั้นในปี 2551 ธุรกิจประมงยังได้รับความเสียหายจากพายุนาร์กีซ โดยเฉพาะแหล่งประมงทางตอนใต้ของพม่า
ที่มา:http://www.boi.go.th/

ชุดประจำชาติประเทศพม่า




ชุดประจำชาติพม่า

        ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า

กอง บอง (Guang Baung)

ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า

ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ







                        ลองยี - ปรเทศพม่า

ที่มา:https://sites.google.com

อาหารประจำชาติประเทศพม่า


อาหารประเทศพม่า

                         
                                หล่าเพ็ด (Lahpet)

หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว
ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว จัดว่าเป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงบ้านเรานั่นเอง หล่าเพ็ดเป็นจานที่
ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ว่ากันว่าไม่มีงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลองใดจะสมบูรณ์ได้หากไม่มี
อาหารยอดนิยมอย่างหล่าเพ็ด



                 ขนมจีนน้ำยาพม่า (Mo Hin Ga) 

ขนมจีนน้ำยาพม่า (Mo Hin Ga) คือขนมจีนน้ำยาที่ทำจากปลา ไม่มีกระทิ จะเรียกว่าน้ำยาป่าก็ได้ ชาวพม่า
จะทาน Mo Hin Ga กันในตอนเช้า ร้าน Mo Hin Ga ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแผงลอย อยู่ตามข้างถนน ราคาก็ชามละ
200 - 500 จัต (ประมาณ 6 - 15 บาท) ถ้า 500 จัตก็จะเป็น Mo Hin Ga ในร้าน ตามโรงแรม 5 ดาว บางวันอาจจะมี
Mo Hin Ga เป็นอาหารเช้าด้วย น้ำยา Mo Hin Ga จะใช้ปลาน้ำจืดเป็นหลักพวก ปลาดุก ปลาช่อน ผักที่ใส่ในน้ำยา
ก็จะเป็น หยวกกล้วยและใช้พวกแป้งถั่ว (Chickpea floor) หรือ ข้าวคั่วเพื่อทำให้น้ำแกงข้น จากนั้นก็โรยหน้าด้วย
ถั่วเหลืองทอด ไข่ต้ม ปลาเส้นทอด ปลาท่องโก๋ ผักชี ปรุงรสด้วยพริกป่น และมะนาว
ที่มา:https://sites.google.com

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ศาสนาและวัฒนธรรม

ศาสนา
     ประเทศพม่า ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา เป็นประเทศที่รวมคนหลากหลายเชื้อชาติ จำนวน 67เชื้อชาติ มีภาษาหลักและภาษาท้องถิ่นมากถึง 242ภาษา โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพม่า ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ศาสนาประจำชาติของชาวพม่า  คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ในปี พ.ศ.2517 รัฐบาลพม่าได้ประกาศบัญญัติให้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากถึง 92.3% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7%



วัฒนธรรม
     วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ    ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี     ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า    ลุนตยาอชิก



ที่มา;http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_myanmar3.html

แหล่งท่องเที่ยวประเทศเมียนมาร์

พระเจดีย์โบตะตอง
          ชื่อของพระเจดีย์แห่งนี้หมายถึง 'ทหารหนึ่งพันนาย' ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในสมัยโบราณที่มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจากประเทศอินเดียเพื่อมาประดิษฐาน ณที่แห่งนี้ โดยมีทหารตั้งแถวถวายสักการะบูชาจำนวน 1,000 นาย พระเจดีย์โบตะตองมีลักษณะเป็นโพรง สามารถเดินเข้าไปชมด้านในได้ โดยผ่านช่องทางที่มีลักษณะเหมือนเขาวงกต ซึ่งตลอดทางมีครอบกระจกใสบรรจุข้าวของเครื่องใช้และวัตถุโบราณเก่าแก่อายุหลายศตวรรษไว้มากมายนับไม่ถ้วน ส่วนบนยอดแหลมประดับด้วยทองคำมีความสูงมากกว่า 130 ฟุตเหนือเจดีย์

เจดีย์สุเล หรือที่เรียกว่า สุเลพญา  เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมสีทอง
           เจดีย์สุเล เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม สีทองอร่าม (Sule Pagoda) ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า หรือที่เรียกกันว่า สุเลพญา (Sule Paya) ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ถนนสายหลักทุกสายพุ่งเข้าหาเจดีย์นี้ นั่นเพราะว่าในสมัยที่อังกฤษครองพม่า ได้วางผังเมืองแบบ Victorian grid-plan โดยยึด เจดีย์สุเล เป็นศูนย์กลาง ถ้าไปดูแผนที่ตัวเมืองย่างกุ้ง จะเห็นว่าถนนตัดกันเป็นบล๊อคสี่เหลี่ยมแล้วมีเจดีย์สุเลอยู่ตรงกลาง

ที่มา;http://travel.mthai.com/world-travel/67809.html