วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สภาพอากาศของประเทศเมียนมาร์

    ภูมิอากาศ


   
สหภาพพม่าตั้งอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน (tropical monsoon) จำแนกฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูร้อนอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งอาจอุณหภูมิสูงถึง 43 องศาเซลเซียส
ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดเข้าสู่ประเทศทำให้ฝนตกเกือบทุกวัน พื้นที่ฝนชุกที่สุดจะได้แก่พื้นที่ชายฝั่งทะเล อันได้แก่ รัฐยะไข่ มณฑลเอยาวดี มณฑลพะโค และมณฑลตะนาวศรี ได้รับปริมาณน้ำฝนถึง 120–200 นิ้วต่อปี ในเขตพื้นที่ราบอื่นๆจะมีฝนตกเฉลี่ย 100 นิ้วต่อปี ทางตอนกลางของประเทศซึ่งถูกกำบังด้วยแนวเขายะไข่ด้านตะวันตกจะมีฝนตกน้อยเพียง 20–40 นิ้วต่อปีเท่านั้น หรือเฉลี่ยราว 29 นิ้วต่อปี
ฤดูหนาวนั้นอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 21–29 องศาเซลเซียส สภาพอากาศของประเทศพม่ายังแตกต่างตามความสูงต่ำของพื้นที่อีกด้วย

ในพื้นที่สูงจะหนาวเย็นยิ่งขึ้น และยอดเขาทางตอนบนสุดของประเทศอาจมีหิมะตกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำสุดราวศูนย์องศาเซลเซียสทางตอนบน และสูงสุด 45 องศาเซลเซียสทางตอนกลางของประเทศ


ที่มา:http://www.thaitickettravel.com/

ประชากรประเทศเมียนมาร์


ประชากร เชื้อชาติและศาสนา



   
       ประเทศเมียนมาร์ มีประชากรประมาณ 46 ล้านคน อยู่รวมกันทั้งสิ้น 135 ชาติพันธุ์ในจำนวนนี้ มีชนเผ่าพม่ามากที่สุด คือประมาณ 1 ใน 4 ส่วน รองลงมาก็คือ ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ และกะฉิ่น ตามลำดับ

สำหรับรัฐที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุด ก็คือรัฐฉาน เนื่องจากมีชนเผ่าอยู่รวมกันถึงประมาณ 80 ชาติพันธุ์ อาทิ ไทยใหญ่ ไทยน้อย ไทยทนุ อินตา ลีซอ อาข่า ม้ง จีนฮ่อ ฯลฯ

เชื้อชาติของชนเผ่าพม่าเป็นเชื้อชาติผสมพยู มองโกล และอินเดีย ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามาในเมียนมาร์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติสัดส่วนของการนับถือศาสนามีดังนี้ ศาสนาพุทธ 89 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ทุกนิกายรวมกัน 5.6 เปอร์เซ็นต์ อิสลาม 3.8เปอร์เซ็นต์ ฮินดู 0.5 เปอร์เซ็นต์


ที่มา: http://www.2by4travel.com/

การเกษตรกรรมประเทศเมียนมาร์

การเกษตรกรรม


รัฐบาลทหารพม่าพยายามส่งเสริมการเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรให้ได้มากที่สุด ด้วยการสนับสนุนการบุกเบิกและฟื้นฟูที่ดินเพื่อการผลิต ส่งเสริมนักลงทุนเอกชนปลูกยางพารา ส่งเสริมส่งออกข้าว ส่งออกไม้สัก เป็นต้น จากรายงาน EIU(1) ได้วิเคราะห์ผลผลิตเกษตรกรรมส่งออก 4 ลำดับสำคัญของพม่า ได้แก่ ข้าว เมล็ดพืช ไม้เนื้อแข็งและไม้สัก และสินค้าประมง

(1) The Economist Intelligence Unit (EIU), Country Profile 2008.

ข้าว ยังคงเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งพม่าเคยส่งออกข้าวมากที่สุดถึง 1 ล้านตันต่อปีในช่วงปี 2493-2503 และ 939,200 ตันในช่วงปี 2544-2545 แต่ยอดส่งออกข้าวลดลงเรื่อยมาจนถึง 553,000 ตันต่อปีในช่วงปี 2550-2551 ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้สินค้าเกษตรทั้งข้าว และเมล็ดพืชอื่น ๆ มียอดส่งออกลดลงนั้น นอกจากผลพวงของพายุนาร์กีซแล้ว ยังเป็นผล มาจากเกษตรกรไม่ได้รับการส่งเสริมการเพาะปลูก เช่น ขาดแคลนปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์เพาะปลูกที่ดี รวมทั้งข้อจำกัดการใช้น้ำชลประทานก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน และเพื่อแก้ไขสถานการณ์การส่งออกข้าว รัฐบาลพม่าได้ออกระเบียบเข้มงวดการส่งออกโดยเฉพาะในช่วงราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้น

เมล็ดพืช เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะในปี 2551 มีมูลค่ารวมมากเป็นอันดับสองของสินค้าส่งออกทุกชนิด โดยส่งไปยังประเทศอินเดียมากที่สุด

ยางพารา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมารัฐบาลทหารพม่าได้ส่งเสริมให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนมากขึ้น และพบว่าในช่วงเวลา 6 ปีนับจากปี 2543 เป็นต้นมา เนื้อที่การเพาะปลูกยางพาราขยายเพิ่มขึ้นเป็น 225,800 เฮกตาร์ และมีผลผลิตถึง 64,200 ตัน ในปี 2548/49

ไม้สักและไม้เนื้อแข็ง เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับสาม และมีปริมาณบริษัทสัมปทานตัดไม้เพิ่มขึ้น

สินค้าประมง โดยเฉพาะปลาและกุ้งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับสี่ เป็นที่ต้องการของประเทศจีนและไทยอย่างมาก อย่างไรก็ตามสินค้าประมงยังไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่ เป็นเพียงธุรกิจรายย่อยเท่านั้น นอกจากนั้นในปี 2551 ธุรกิจประมงยังได้รับความเสียหายจากพายุนาร์กีซ โดยเฉพาะแหล่งประมงทางตอนใต้ของพม่า
ที่มา:http://www.boi.go.th/

ชุดประจำชาติประเทศพม่า




ชุดประจำชาติพม่า

        ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า

กอง บอง (Guang Baung)

ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า

ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ







                        ลองยี - ปรเทศพม่า

ที่มา:https://sites.google.com

อาหารประจำชาติประเทศพม่า


อาหารประเทศพม่า

                         
                                หล่าเพ็ด (Lahpet)

หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว
ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว จัดว่าเป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงบ้านเรานั่นเอง หล่าเพ็ดเป็นจานที่
ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ว่ากันว่าไม่มีงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลองใดจะสมบูรณ์ได้หากไม่มี
อาหารยอดนิยมอย่างหล่าเพ็ด



                 ขนมจีนน้ำยาพม่า (Mo Hin Ga) 

ขนมจีนน้ำยาพม่า (Mo Hin Ga) คือขนมจีนน้ำยาที่ทำจากปลา ไม่มีกระทิ จะเรียกว่าน้ำยาป่าก็ได้ ชาวพม่า
จะทาน Mo Hin Ga กันในตอนเช้า ร้าน Mo Hin Ga ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแผงลอย อยู่ตามข้างถนน ราคาก็ชามละ
200 - 500 จัต (ประมาณ 6 - 15 บาท) ถ้า 500 จัตก็จะเป็น Mo Hin Ga ในร้าน ตามโรงแรม 5 ดาว บางวันอาจจะมี
Mo Hin Ga เป็นอาหารเช้าด้วย น้ำยา Mo Hin Ga จะใช้ปลาน้ำจืดเป็นหลักพวก ปลาดุก ปลาช่อน ผักที่ใส่ในน้ำยา
ก็จะเป็น หยวกกล้วยและใช้พวกแป้งถั่ว (Chickpea floor) หรือ ข้าวคั่วเพื่อทำให้น้ำแกงข้น จากนั้นก็โรยหน้าด้วย
ถั่วเหลืองทอด ไข่ต้ม ปลาเส้นทอด ปลาท่องโก๋ ผักชี ปรุงรสด้วยพริกป่น และมะนาว
ที่มา:https://sites.google.com

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ศาสนาและวัฒนธรรม

ศาสนา
     ประเทศพม่า ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา เป็นประเทศที่รวมคนหลากหลายเชื้อชาติ จำนวน 67เชื้อชาติ มีภาษาหลักและภาษาท้องถิ่นมากถึง 242ภาษา โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพม่า ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ศาสนาประจำชาติของชาวพม่า  คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ในปี พ.ศ.2517 รัฐบาลพม่าได้ประกาศบัญญัติให้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากถึง 92.3% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7%



วัฒนธรรม
     วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ    ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี     ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า    ลุนตยาอชิก



ที่มา;http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_myanmar3.html

แหล่งท่องเที่ยวประเทศเมียนมาร์

พระเจดีย์โบตะตอง
          ชื่อของพระเจดีย์แห่งนี้หมายถึง 'ทหารหนึ่งพันนาย' ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในสมัยโบราณที่มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจากประเทศอินเดียเพื่อมาประดิษฐาน ณที่แห่งนี้ โดยมีทหารตั้งแถวถวายสักการะบูชาจำนวน 1,000 นาย พระเจดีย์โบตะตองมีลักษณะเป็นโพรง สามารถเดินเข้าไปชมด้านในได้ โดยผ่านช่องทางที่มีลักษณะเหมือนเขาวงกต ซึ่งตลอดทางมีครอบกระจกใสบรรจุข้าวของเครื่องใช้และวัตถุโบราณเก่าแก่อายุหลายศตวรรษไว้มากมายนับไม่ถ้วน ส่วนบนยอดแหลมประดับด้วยทองคำมีความสูงมากกว่า 130 ฟุตเหนือเจดีย์

เจดีย์สุเล หรือที่เรียกว่า สุเลพญา  เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมสีทอง
           เจดีย์สุเล เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม สีทองอร่าม (Sule Pagoda) ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า หรือที่เรียกกันว่า สุเลพญา (Sule Paya) ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ถนนสายหลักทุกสายพุ่งเข้าหาเจดีย์นี้ นั่นเพราะว่าในสมัยที่อังกฤษครองพม่า ได้วางผังเมืองแบบ Victorian grid-plan โดยยึด เจดีย์สุเล เป็นศูนย์กลาง ถ้าไปดูแผนที่ตัวเมืองย่างกุ้ง จะเห็นว่าถนนตัดกันเป็นบล๊อคสี่เหลี่ยมแล้วมีเจดีย์สุเลอยู่ตรงกลาง

ที่มา;http://travel.mthai.com/world-travel/67809.html